อวัยวะภายใน
สาระสำคัญ
อวัยวะภายในมีความสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกาย
ดังนั้นเราจึงควรดูแลรักษาอวัยวะภายในอย่างถูกวิธี
เพื่อให้อวัยวะทำงานได้อย่างเป็นปกติ
จุดประสงค์การเรียนรู้
บอกตำแหน่ง ลักษณะ และหน้าที่ของอวัยวะภายในได้
สาระการเรียนรู้
ลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายในที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการไปตามวัย
(สมอง หัวใจ ตับ ไต ปอด
กระเพาะอาหาร ลำไส้ ฯลฯ)
เรามาร้องเพลง ร่างกายของฉันกันเถอะ
เรามารู้จักอวัยวะภายในของเรากันดีกว่า
1. ปอด
ปอดเป็นอวัยวะที่สำคัญปอดมี 2 ข้าง บรรจุอยู่ในโพรงของทรวงอกตอนบน ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา โดยปอดข้างขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าปอดข้างซ้าย ปอดมี 2 ข้าง มีลักษณะคล้ายห้องน้ำขนาดใหญ่มีความยืดหยุ่นและภายในปอด มีถุงลมเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ถุงลมเหล่านี้ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปและรับก๊าซออกซิเจนเข้ามาแทน
ปอดมีหน้าที่ฟอกเลือดดำให้เป็นเลือดแดง โดยรับเลือดดำที่ส่งมาหัวใจด้านขวา มาถ่ายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือดดำ และส่งก๊าซออกซิเจนให้แทนซึ่งจะทำให้เลือดดำเป็นเลือดแดง การหายใจเอาอากาศที่มีเขม่า ฝุ่นละออง ควันพิษหรือสารพิษเข้าไป จะทำให้ปอดทำหน้าที่ลำบากขึ้นแล้วยังก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น วัณโรค มะเร็งปอด เป็นต้น ดังนั้น เราจึงควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่สูบบุหรี่และไม่คลุกคลีกับคนป่วยที่เป็นวัณโร
2. กระเพาะอาหารกระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่สำคัญอวัยวะหนึ่ง ตั้งอยู่บริเวณใต้ทรางอกมีส่วนปลายงอไปทางขวา มีรูปร่างคล้ายอักษรตัวเจ (J) กระเพาะอาหารมีลักษณะเป็นถุงกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ มีความเหนียวและสามารถยืดตัวออก เพื่อรับอาหารจำนวนมากได้ กระเพาะอาหารทำหน้าที่เป็นที่เก็บอาหาร ย่อยอาหาร และคลุกเคล้าอาหารกับน้ำย่อยก่อนที่อาหารจะเคลื่อนที่ไปยังส่วนอื่น ๆ
การกินอาหารที่มีรสจัดกินอาหารไม่ตรงเวลา จะเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารได้ เราจึงควรกินอาหารให้ตรงเวลา งดกินอาหารที่มีรสจัด ความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร ดังนั้น เราควรทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส ไม่เครียด
3. ลำไส้ลำไส้เป็นอวัยวะที่ยาวมาก มีลักษณะขดเป็นท่อลวง อยู่ในช่องท้องตอนบน แบ่งได้ 3 ส่วน คือ ลำไส้ดูโอดีนัม ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ สำไส้แต่ละส่วนจะทำหน้าที่แตกต่างกัน
3.1 สำไส้ดูโอดีนัม จะทำหน้าที่เปลี่ยนกรดที่ได้รับจากกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้ลำไส้ส่วนอื่น ๆ ได้รับอันตราย
3.2 ลำไส้เล็ก จะทำหน้าที่ย่อยอาหารในขั้นตอนสุดท้าย และดูดซึมอาหารที่ถูกย่อยแล้วเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่อไป
3.3 ลำไส้ใหญ่ จะทำหน้าที่ดูดน้ำจากกากอาหารที่ผ่านมาจากลำไส้เล็กคืนให้แก่ร่างกาย จนเหลือเพียงกากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการ และขับถ่ายกากอาหารที่เรียกว่า อุจจาระ ออกทางทวารหนัก การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสจัด จะช่วยทำให้ลำไส้ทำหน้าที่ได้อย่างปกติ
4. ไตไตเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างยิ่งในระบบขับถ่ายปัสสาวะ ไตมี 2 ข้างตั้งอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของกระดูกสันหลัง บริเวณเอวด้านละ 1 อัน ไตมีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว มีสีแดงแกมน้ำตาล ไตมีหน้าที่กรองและขับถ่ายของเสียที่เป็นน้ำออกจากร่างกายเรียกว่า ปัสสาวะ
นอกจากนี้ ไตยังมีหน้าที่ดูดซึมและเก็บสารอาหารที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งไตยังทำหน้าที่รักษาปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลอีกด้วย การดูแลรักษาไตให้ทำงานได้อย่างปกติ เราควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีรสเค็มจัด ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เป็นเวลานาน ๆ ควรดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
5. หัวใจ
หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญอวัยวะหนึ่งตั้งอยู่กลางทรวงอก ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ส่วนปลายหัวใจอยู่ค่อนมาทางซ้าย หัวใจมีรูปร้างคล้ายดอกบัวตูม มีขนาดเท่ากับกำปั้นแน่นของผู้เป็นเจ้าของภายในหัวใจแบ่งเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบนซ้าย ห้องล่างซ้าย ห้องบนขวา ห้องล่างขวา
หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญอวัยวะหนึ่งตั้งอยู่กลางทรวงอก ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ส่วนปลายหัวใจอยู่ค่อนมาทางซ้าย หัวใจมีรูปร้างคล้ายดอกบัวตูม มีขนาดเท่ากับกำปั้นแน่นของผู้เป็นเจ้าของภายในหัวใจแบ่งเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบนซ้าย ห้องล่างซ้าย ห้องบนขวา ห้องล่างขวา
หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเข้าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อหัวใจคลายตัวก็จะสูบเลือดเข้ามา เมื่อหัวใจบีบตัวก็จะฉีดเลือดออกไปการบีบและคลายตัวนี้ เราเรียกว่า การเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจในคนปกติ จะมีการเต้นประมาณ 60-80 ครั้ง/นาที
กรุณาตอบแบบสอบถามออนไลน์ คลิกเลย